ร้านค้าชุมชน

สมาร์ทโชห่วย ร้านค้าชุมชนขับเคลื่อนด้วยพลังงานโซล่าเซลล์

ร้านค้าชุมชน

สมาร์ทโชห่วย รวยได้เพราะไฟฟ้าฟรี

ร้านค้าชุมชนยุคใหม่ หรือสมาร์ทโชห่วย ไม่ใช่ร้านค้าไก่กาธรรมดาๆ อีกต่อไป เมื่อโมเดิร์นโชห่วยวางแผนบริหารจัดการใหม่ทั้งระบบ ตลอดจนสร้างระบบพลังงานไฟฟ้าฟรีจากแผงโซล่าเซลล์ จุดสำคัญในการสร้างความได้เปรียบร้านค้าทั่วไป หรือแม้แต่ร้านสะดวกซื้อต่างๆ

โชห่วยเดิมๆ ที่เราเคยรู้จักกันมา

ร้านค้าชุมชนในท้องถิ่นโดยทั่วไป มักจะเรียกกันง่ายๆ ว่าร้านโชห่วย มีให้เห็นมาตั้งแต่อดีต ซึ่งส่วนใหญ่มักวางขายสินค้าสารพัดเท่าที่เจ้าของจะหาเอามาขายได้ และมักจะมาจากสินค้าที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันที่ผูกพันกับทุกคนในครอบครัวตั้งแต่ตื่นนอนยันเข้านอน ก็หนีไม่พ้นสินค้าจำพวก สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ผงซักฟอก ซึ่งหากย้อนคิดดีๆ หลายร้านก็ยังขาย ถ้วย ถัง กะละมัง หม้อ อีกด้วย สินค้าจำพวกของกินโดยเฉพาะอาหารกึ่งสำเร็จรูป และอาหารแห้ง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ฯลฯ ก็เป็นของคู่กันแบบขาดไม่ได้เลยทีเดียว

การเข้ามาของร้านสะดวกซื้อยุคใหม่ ทำให้โชห่วยไปต่อลำบาก

การก่อกำเนิดของร้านสะดวกซื้อยุคใหม่ ทำให้เกิดผลกระทบต่อบรรดาร้านค้าโชห่วยในละแวกใกล้ๆ เป็นอย่างมาก เพราะด้วยที่ร้านสะดวกซื้อเหล่านั้นมีระบบในการบริหารจัดการที่ดีอย่างชัดเจน อีกทั้งส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียง มีทุนหรือสายป่านที่ยาว และผ่านร้อนผ่านหนาวจนมีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี ซึ่งร้านเซเว่นอีเลเว่น ก็เป็นตัวอย่างที่ดีในการศึกษาเพราะกว่าที่ 7-11 จะก้าวมาถึงจุดที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศเป็นหมื่นสาขาได้ ก็ฝ่าฟันความลำบากอย่างแสนสาหัสมาก่อน

ร้านสะดวกซื้อที่เราคุ้นเคยกันไม่ว่าจะเป็น 7-11, โลตัสเอ็กเพรส หรือมินิบิ๊กซี ที่อยู่กระจัดกระจายในเกือบทุกๆ พื้นที่ที่มีจำนวนประชากรเยอะ หรือในบริเวณที่มีกำลังซื้อมาก มีผลทางอ้อมและทางตรงต่อร้านโชห่วยในพื้นที่ เราไม่ได้โทษว่าร้านสะดวกซื้อมาทำให้โชห่วยล้มหายตายจาก

แต่เป็นเพราะว่าร้านโชห่วยส่วนใหญ่ตั้งตัว และปรับตัวต่อยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่ทัน หลายสาเหตุที่เรียกว่ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ระหว่างร้านสะดวกซื้อ กับโชห่วย เช่นสินค้าที่มีให้เลือกมากกว่า, ครบกว่า การจัดร้านที่น่าเข้า ไม่มืดไม่น่ากลัวเหมือนร้านค้าทั่วไป การจัดโปรโมชั่นสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องสำคัญเช่นการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง และต้นทุนในการจัดการ

สมาร์ทโชห่วยสร้างความแตกต่าง ก็สร้างกำลังซื้อได้

สิ่งที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อสินค้า ของกินของใช้ หรือเครื่องอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องที่หลายๆ คนรู้กันอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของราคา, ความหลากหลายของสินค้า, สินค้าที่จำเป็นต้องใช้ประจำ, ลักษณะการจัดร้านค้า ที่สำคัญคนขายของในร้านซึ่งร้านค้าชุมชน หรือร้านโชห่วยส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นเจ้าของร้าน ในขณะที่ร้านสะดวกซื้อจะเป็นพนักงานขายประจำ

หากทุกอย่างที่เพิ่งกล่าวไปทั้งร้านสะดวกซื้อ กับร้านค้าชุมชนมีเหมือนกัน, ราคาพอๆ กัน และอยู่ใกล้กัน คนซื้อก็จะเลือกเข้าร้านสะดวกซื้อมากกว่าแน่นอน แต่หากว่าร้านโชห่วยมีราคาสินค้าที่ถูกกว่ากัน นั่นย่อมเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คนซื้อหันกลับมาซื้อได้ หากร้านโชห่วยจัดหาสินค้าที่ร้านสะดวกซื้อ หรือไม่มีขาย แต่มีความต้องการใช้ภายในท้องถิ่นอยู่ ก็ย่อมมีความได้เปรียบขึ้นมาอีก

ไม่ว่าร้านสะดวกซื้อ หรือโชห่วยก็ต้องใช้พลังงานจากไฟฟ้าเหมือนกัน

จะร้านค้าแบบไหนก็ตาม ยังไงก็ต้องใช้ไฟฟ้าเหมือนกัน เพียงแต่จะมากหรือน้อยแตกต่างกันไปเท่านั้น ร้านไหนมีตู้แช่เยอะ, มีแอร์ด้วย ย่อมต้องจ่ายค่าไฟฟ้าที่มากกว่า หากลองคิดแบบเป็นกลางๆ ตู้แช่ในร้านค้าสำคัญมากกว่าแอร์ในร้านแน่นอน (แอร์สำคัญทางอ้อม/ซึ่งมีผลต่อการเข้าร้านบ้างด้วย) แต่แช่หรือเครื่องเย็นภายในร้านก็ใช้กำลังไฟฟ้าพอสมควร แอร์ก็เช่นกัน

ค่าไฟฟ้าพลังงาน สิ่งเหล่านี้จัดว่าเป็นต้นทุนสำคัญในการประกอบกิจการร้านค้า โดยเฉพาะตู้แช่นั้นขาดไม่ได้ (ไม่มีแอร์ก็ยังขายของได้) แต่ถ้าไม่มีตู้แช่เหมือนตัดช่องทางในการขายสินค้าประเทภเครื่องดื่มไปเกือบหมด หากประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากเท่าไร เท่ากับว่าลดต้นทุนในการจัดการได้มากทีเดียว ส่งผลให้เหลือผลกำไรได้มากกว่า

สมาร์ทโชห่วย ลดต้นทุนได้ชิงความได้เปรียบ

โดยการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือระบบโซล่าเซลล์เข้ามาร่วมด้วย หากสมาร์ทโชห่วยสามารถเชื่อมต่อไฟฟ้าไว้ทั้งสองส่วนคือ ไฟฟ้าทั่วไปจากสายส่งปกติ และผลิตไฟฟ้าจะระบบโซล่าเซลล์ไว้ใช้เอง เท่ากับว่าเป็นการลงทุนครั้งเดียวที่สามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ตลอดไป สมมติว่าค่าไฟฟ้าปกติของร้านค้าเฉลี่ยแล้วจ่ายเดือนละ 3,000 บาท หากมีระบบไฟฟ้าที่สองเข้ามาช่วงในช่วงเวลากลางวัน หรือเวลาที่ขายสินค้า ย่อมทำให้ค่าไฟฟ้าลดมากอย่างเห็นได้ชัดอย่างน้อยก็ประมาณครึ่งหนึ่ง

ระบบโซล่าเซลล์สำหรับร้านค้าชุมชนช่วยได้ยังไง

การใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจร้านค้า เพื่อในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ภายในร้าน ซึ่งก็ต้องยังพึ่งพาระบบไฟฟ้าหลักที่มากับสายส่งอยู่ การนำพลังงานทดแทนมาใช้ผลิตไฟฟ้ายังมีน้อยมาก การใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับร้านค้าทั่วไป จะมีอยู่ 2 อย่างคือ ไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น และระบบไฟฟ้าส่องสว่างภายในร้าน

ร้านค้าอะไรก็ตามมักจะใช้ไฟฟ้ามากกว่าการใช้ในส่วนของครัวเรือนอยู่มากอย่างเห็นได้ชัด การนำพลังงานทดแทนซึ่งในที่นี้คือพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อแปลงให้มาเป็นพลังงานไฟฟ้า นับว่าเป็นการวางแผนการประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านค้าชุมชนที่เคยได้งบจากกองทุนหมู่บ้าน หรือกองทุนประชารัฐ ย่อมสามารถทำเป็นโครงการต่อยอดจากของเดิม หรือร้านค้าที่มีอยู่แล้วได้อย่างง่ายดาย

สนใจจะสอบถามเกี่ยวกับระบบโซล่าเซลล์เพื่อร้านค้าชุมชน ก็เชิญถามผ่านช่องทางติดต่อภายในเว็บไซต์แน่งนี้ได้ตลอดเวลาเลยครับ