โครงการประชารัฐ-โลโก้

โครงการประชารัฐ คืออะไร

โครงการประชารัฐ

โครงการประชารัฐ-โลโก้

เกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาลเพื่อใช้ให้เป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาตั้งแต่จากระดับท้องถิ่นขึ้นมา โดยมุ่งเน้นให้มีความร่วมมือกันระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ, เอกชน และประชาชน ในแก้ไขปัญหาต่างๆ ส่งเสริมคุณภาพชีวิต สร้างโอกาส สร้างอาชีพเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดความเลื่อมล้ำทางสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย โครงการประชารัฐทำให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และมีความยั่งยืน ซึ่งจะมีชุมชนเป็นตัวดำเนินการหลักในการขับเคลื่อน เพราะคนในท้องถิ่นเองนั้นย่อมรู้ดีว่าชุมชนของตนเองยังขาดอะไร และต้องการอะไร ทำให้ได้รับประโยชน์ตามความต้องการและทั่วถึง

โดยมีรัฐบาลช่วยเหลือในเรื่องงบประมาณที่มาในรูปของการจัดตั้งกองทุน เช่นกองทุนประชารัฐ หรือกองทุนหมูบ้าน เพื่อจุดประสงค์ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ส่งผ่านหรือแจกจ่ายไปให้ตั้งแต่ระดับตำบล, หมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่มักเรียกันง่ายๆ ว่า กองทุนหมู่บ้าน ส่วนขนาดของเม็ดเงินของกองทุนที่จะได้รับในแต่ละครั้ง หรือแต่ละหมู่บ้านนั้นอาจจะไม่เท่ากัน ที่ผ่านมาก็มีได้รับเช่น ไม่เกิน 200,000 บาทในครั้งแรก และครั้งต่อไปอาจจะยอดงบประมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ โครงการประชารัฐ หรือโครงการอื่นๆ ว่าสามารถดำเนินไปได้อยู่ และมีรายได้ หรือไม่สูญเปล่า หรือไม่

คำว่า “ประชารัฐ” มีที่มาที่ไปอย่างไร

มาจากคำในเนื้อหาของเพลงชาติในช่วงท่อนหนึ่ง

เป็นคำตอบของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  : คำว่า “ประชารัฐ” หรือคำว่า “ประชา” รวมกับคำว่า “รัฐ” นั้น มาจากเนื้อเพลงชาติไทยที่เราขับร้องหรือได้ยินกันทุกวัน ซึ่งมีใจความว่า “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี …” ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้นำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ “ประชารัฐ” เพื่อให้ส่วนราชการต่างๆ ใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เกิดความสงบเรียบร้อย เกิดความสามัคคี และสร้างการพัฒนาประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่งอย่างยั่งยืนได้จริง ตามเนื้อหาสาระของเพลงชาติไทยที่มีมานานแล้ว และนายกรัฐมนตรีได้ขยายความให้ชัดเจนด้วยว่า “เป็นการร่วมมือกันในการสร้างสรรค์ สร้างพลังในการทำความดีให้ประเทศชาติ ไม่ใช่เพื่อตนเอง หรือข้าราชการ แต่ทำเพื่อประชาชนทุกคน คำมั่นสัญญานี้ไม่ใช่นโยบายหาเสียง แต่ถือเป็นสัญญาระหว่างรัฐและประชาชน ที่จะร่วมมือแก้ไขปัญหาหรือแก้ไขความผิดพลาดในอดีตทั้งหมดให้ได้ โดยความร่วมมือกัน”

มาจาก แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (แผนฯ 8) ซึ่งเนื้อแบบกว้างโดยสรุปดังนี้

• ประชาชน ชุมชน และประชาสังคม มีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนาท้องถิ่น สังคม และประเทศ
• การบริหารจัดการและพัฒนาประเทศโดยภาครัฐ ใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง จริงจัง และต่อเนื่อง ในทุกระดับ
• การดำเนินงานของภาครัฐ มีความสุจริต โปร่งใส ถูกต้อง มีประสิทธิผล คุณภาพ และประสิทธิภาพ รวมถึงการกระจายอำ นาจสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและเพียงพอ
• ทุกส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ร่วมเป็น “ภาคีการพัฒนา” โดยร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมติดตามประเมินผล ร่วมปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

มาจาก “ส่วนประสานเครือข่ายประชารัฐ” สำนักงานคณะกรรมการ

สทบ. ได้กล่าวถึง “ประชารัฐ” ว่าเป็นการรวมพลัง 4 ฝ่ายหลักในสังคม ได้แก่
– ฝ่ายการเมือง
– ฝ่ายหน่วยงานรัฐ (ราชการ)
– ฝ่ายชุมชน (ประชาชน)
– ฝ่ายประชาสังคม (เอกชน)

โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์ “ประชารัฐ” ไว้คือ

การรวมเอาพลังทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะอยู่ในภาคประชาชน ภาคธุรกิจ หรือภาครัฐ มาใช้ โดยมองบนพื้นฐานว่า “คนไทยทุกคน ก็คือ ประชาชนของชาติ” ซึ่งถือเป็นพลังอำนาจที่สำคัญในการแก้ไขปัญหา ในการเปลี่ยนแปลงหรือการปฏิรูป และการพัฒนาประเทศในทุกมิติและทุกด้านอย่างยั่งยืน

พลังชุมชนประชารัฐ

โดยการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ “ประชารัฐ” แบ่งได้เป็น 2 ยุทธศาสตร์ย่อย คือ

1) “รัฐบาล” กับ “ประชาชน” : โดย “รัฐ” หรือรัฐบาล จะเป็นผู้อำนวยความสะดวก สนับสนุน และเปิดช่องทางให้ “ประชา” หรือภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป เข้ามามีส่วนร่วมตามกระบวนการประชาธิปไตย เพื่อให้ประชาชนเข้าใจการบริหารงานของรัฐบาลในเรื่องต่างๆ และไม่สร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นระหว่างประชาชนกับรัฐบาล และ

2) “ประชาชน” กับ “เจ้าหน้าที่รัฐ” คือ การทำงานร่วมกันของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการสร้าง “เครือข่ายประชารัฐ” ในทุกด้าน ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญที่เชื่อมโยงและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน อันเป็นแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลปัจจุบัน เพื่อให้การบริหารจัดการงบประมาณของรัฐมีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งต่อการพัฒนาประเทศ การพัฒนาชุมชน และการพัฒนาสิทธิและสวัสดิการของรัฐเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ไม่ให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมเช่นที่ผ่านมา

สำหรับหัวใจสำคัญของยุทธศาสตร์ โครงการประชารัฐ คือ การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกคน เนื่องจากการแก้ปัญหา การปฏิรูป และการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน จะสำเร็จหรือเห็นผลเป็นรูปธรรมไม่ได้เลย หากขาดซึ่งความร่วมมือร่วมใจและการมีส่วนร่วมระหว่างประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และรัฐบาล

ประโยชน์อะไรจากยุทธศาสตร์ “ประชารัฐ” ประชาชนจะได้

จากเป้าหมายในอนาคตของยุทธศาสตร์ “ประชารัฐ” เมื่อ “ประชาชน” และ “รัฐ” ได้ทำงานร่วมกันแล้ว จะก่อให้เกิดความเข้มแข็งและความมั่นคงของประเทศในด้านต่างๆ ไม่ว่าด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว หรือการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ อันจะนำมาซึ่งความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงหรือได้รับสิทธิและสวัสดิการของรัฐอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ไท้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมเหมือนในอดีต ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้นจะส่งผลดีต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของประชาชนทุกคนทั้งในทางตรงและทางอ้อม

ในยุทธศาสตร์ “ประชารัฐ” ประชาชนจะสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างไร?

ประชาชนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ “ประชารัฐ” ได้ง่ายๆ โดยเริ่มได้ที่ตัวเอง เช่น

1. การติดตามทำความเข้าใจในนโยบายและแนวทางการแก้ปัญหาของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ
2. การเข้ามีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาในด้านต่างๆ ผ่านเวทีหรือช่องทางที่ถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ได้เปิดไว้จำนวนมาก
3. การเคารพและปฏิบัติตนตามกฎหมายเพื่อความสงบเรียบร้อยของชุมชนและสังคมส่วนรวม
4. การเรียนรู้สิทธิและหน้าที่ของตนในฐานะพลเมือง และการเคารพสิทธิของผู้อื่นอย่างเท่าเทียม
5. การมีจิตสาธารณะในการช่วยเหลือและเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่นที่ด้อยโอกาส ต่อชุมชน ต่อสังคม และประเทศชาติ
ท้ายนี้ ขอยืนยันว่ายุทธศาสตร์ “ประชารัฐ” ไม่ใช่นโยบาย “ประชานิยม” เพราะประชานิยมเป็นเรื่องที่ต้องการให้ประชาชนมีความนิยมต่อภาครัฐ แต่ยุทธศาสตร์ “ประชารัฐ” เป็นความร่วมมือของรัฐบาลกับประชาชน ในการแก้ไขปัญหา ไม่ได้มุ่งสร้างความนิยมหรือคะแนนเสียง หรือสร้างบุญคุณต่อใคร แต่เป็นยุทธศาสตร์ที่ต้องการทำเพื่อประเทศชาติและประชาชนส่วนรวมอย่างแท้จริง

โดยสรุปนี้ โครงการประชารัฐมุ่งเน้นเป้าหมายการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และสังคมให้กับภาคประชาชน โดยจะผลักดันประสบการณ์, บทเรียน และภูมิปัญญาภาคประชาชน สู่นโยบานประเทศ มีการสร้างการเมืองภาคประชาชนเพื่อให้มีการตรวจสอบการเมืองในระบบ ผนึก และประสานกำลังทุกภาคส่วนทั้ง รัฐ, เอกชน และประชาชน เพื่อพัฒนาสังคมทุกระดับ รวมพลังสร้างสรรค์ โดยไม่กีดกันผู้ใด